ชิ้นงานสึกหรอ ไม่อยากทิ้งทำใหม่ เชื่อมพอกผิวแข็ง ด้วยลวดเชื่อม เป็นทางเลือกที่ดี ในการ ลดต้นทุน ประหยัดงานซ่อม

เชื่อมซ่อมสกูรอัด

ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง เป็นทางเลือกที่ดี ในการเชื่อมซ่อมงานสึกหรอ แข็งแรงและทนทาน ลดต้นทุน ประหยัดงานซ่อม

มารู้จักลวดเชื่อมพอกผิวแข็งกันก่อน

ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง เป็นลวดเชื่อมที่ใช้สำหรับเชื่อมซ่อมแซมชิ้นงานที่มีการสึกหรอ อันเกิดจากการเสียดสีระหว่างโลหะกับโลหะ หรือสึกหรอ ในรูปแบบอื่นๆ ลักษณะงานซ่อมสามารถพบได้ทั่วไป ได้แก่ การเชื่อมพอกเฟือง ล้อขับ เพลา ล้อเครน ลูกกลิ้ง ข้อต่อขอบบุ้งกี๋ของรถขุด การเชื่อมพอกแม่พิมพ์ตัด และใบกวน ใบมีดตัดในอุตสาหกรรมโรงน้ำตาล หรือเชื่อมพอกดอกสว่านเจาะหินในอุตสาหกรรมโรงโม่หิน ล้อรถไถนา เป็นต้น

หลักการเบื้องต้นการเชื่อมพอกผิวแข็ง

การเชื่อมพอกผิวแข็งเป็นวิธีการเชื่อมแก้ไขการสึกหรอของเหล็ก ให้เพิ่มอายุการใช้งานออกไปอีก และที่มีต้นทุนต่ำในการซ่อมแซม โดยสามารถใช้ได้กับชิ้นส่วนที่สึกหรอแล้วหรือไม่ก็ชิ้นงานใหม่ที่ยังไม่ใช้แต่ต้องการป้องกันการสึกหรอได้ตั้งแต่เริ่มใช้งานเพื่อยืดอายุการใช้งานได้ยาวนาน มีประโยชน์ต่อการเลือกใช้วิธีการเชื่อมพอกผิวแข็งดังนี้

  1. ลดรายการและจำนวน สต็อกชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทนให้น้อยลง
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ เนื่องจากลดเวลาการหยุดซ่อมขณะผลิตน้อยลง
  3. ลดการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ทั้งชิ้นใหม่ ทำให้ประหยัด
  4. ลดต้นทุนการซ่อมแซมชิ้นส่วนที่สึกหรอ โดยรวมลดลงได้

การเชื่อมพอกผิวแข็งด้วยลวดเชื่อมไฟฟ้า (Stick welding electrodes)

แนะนำให้เชื่อมพอกแบบนี้กับชิ้นงานซ่อมที่มีพื้นที่ผิวการซ่อมที่ซับซ้อน ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน เชื่อมซ่อมในปริมาณงานที่น้อย และเป็นชิ้นส่วนพื้นที่เล็ก ถึงปานกลาง ไม่ใหญ่มาก

ข้อดีการเชื่อมไฟฟ้า

  • มีความคล่องตัวสูงในการเชื่อม รับมือกับรูปร่างสึกหรอหลายรูปแบบได้ดี
  • เชื่อมซ่อมได้หลายท่า ตามความต้องการช่างเชื่อม แต่แนะนำให้เชื่อมท่าราบจะดีกว่า
  • ชิ้นงานเล็ก หรือใหญ่ก็สามารถทำได้ดี
  • ใช้เครื่องมือในการเชื่อมที่ราคาไม่แพงมาก เช่นเครื่องเชื่อมไฟฟ้าอินเวอร์เตอร์

ข้อด้อย

  • การเชื่อมไฟฟ้าด้วยธูปเชื่อม ทำงานได้ช้ากว่า การซ่อมลวดเชื่อมม้วนโดยเชื่อมอัตโนมัติทำได้เร็วกว่า
  • ขณะเชื่อมเกิดข้อผิดพลาดการเชื่อมได้ง่าย บนพื้นผิวที่ไม่เรียบพอ

การเชื่อมพอกผิวแข็ง มี 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

  1. เชื่อมรองพื้น (Buttering)
    เพื่อทำการลดผลกระทบจากธาตุคาร์บอน และ อัลลอยที่มาจากชิ้นงาน ทำให้เกิดการแตกร้าวได้
  2. เชื่อมสร้างเนื้อ (Build-Up)
    เพื่อเพิ่มเนื้อชิ้นงานที่สึกหรอไปให้ใกล้เคียงกับชิ้นงานเดิม(ก่อนการสึกหรอ) ชั้นเดียวหรือหลายชั้นได้
  3. เชื่อมพอกผิวแข็ง (Hardfacing)
    เพื่อเพิ่มชั้นพอกผิวแข็งให้ทนต่อการสึกหรอประมาณ 2- 4 ชั้นได้

หมายเหตุ- การคัดเลือกลวดเชื่อมสำหรับการเชื่อม ในชั้น รองพื้น และ สร้างเนื้อ นั้นขึ้นอยู่กับเนื้อชิ้นงานที่ต้องการซ่อม และ ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง ไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจน เนื่องจากมีความหลากหลาย ต้องดูคู่มือจากผู้ผลิตลวดเชื่อมด้วย แต่โดยทั่วไปไม่ใช่งานสเปก การเชื่อมซ่อม มักจะใช้ลวดเชื่อมสแตนเลส หรือ ลวดทนแรงดึงสูง ในการเชื่อมรองพื้น และ สร้างเนื้อ และ ตามด้วยการเชื่อมพอกด้วยลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง

รูปภาพงานเชื่อมพอกผิวแข็ง กับชิ้นงานสกูร เครื่องอัด
ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง เชื่อมพอกสกูร

 

ใครที่คิดว่าจะทิ้งชิ้นงานที่สึกหรอ แล้วละก็คงคิดใหม่ได้แล้ว นะครับ มันซ่อมได้ยืดอายุการใช้งาน ลดต้นทุน และ ประหยัดอีกด้วย

 

ใส่ความเห็น