การลับมีดกลึง

1

วิธีการลับมีดกลึง
502c09ea89e30fb50bc08677e1cd6120 2
การลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลง

1. มุมต่างๆของมีดกลึงที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้

efc0a3ecdd4bbf3ae131a03c69903e8a 3

1. มุมเอียงคมตัด เป็นมุมเอียงเพื่อลดแรงตัดเฉือน ขณะที่มีดกลึงตัดเฉือนชิ้นงาน
2. มุมหลบปลายมีด เป็นการลับหลบไม่ให้ปลายมีดเสียดสีกับผิวของชิ้นงาน
3. มุมหลบข้าง เป็นมุมหลบเพื่อไม่ให้ด้านข้างมีดสีกับชิ้นงานทำให้คมตัดเฉือนชิ้นงานได้
4. มุมรวมปลายมีด เป็นมุมที่เกิดจากการลับมุมเอียงคมตัดกับมุมหลบปลายมีด
5. มุมคาย เป็นมุมที่มีดกลึงคายเศษโลหะออกด้านข้าง ได้แก่ มุมคายของมีดกลึงปาดหน้า มีดกลึงปอก ส่วนมุมคาย คือมุมที่อยู่ด้านบน แต่คายเศษโลหะเข้าหาลำตัดมีด ได้แก่ มีดกลึงตกร่อง มีดกัด เป็นต้น

2. ขั้นตอนการลับมีดกลึงหรือไสตกร่อง การลับมีดไสตกร่องบ่าฉากจะมีลักษณะการทำงานเหมือนกันกับการลับมีดกลึงตกร่อง
f6ab56c3391ad569ae8e6ecea02668d5 4
ขั้นตอนการทำงาน
1. ลับมุมด้านหน้ามีดให้ตั้งฉากกับลำตัวมีด พร้อมทั้งลับมุมหลบหน้ามีด เท่ากับ 8 องศา
2. ลับมุมหลบด้านข้างซ้าย เท่ากับ 1 องศา พร้อมทั้งลับมุมหลบข้างมีด เท่ากับ 2 องศา
3. ลับมุมหลบด้านข้างขวา เท่ากับ 1 องศา พร้อมลับมุมหลบข้างมีด เท่ากับ 2 องศา
4. ลับมุมคายบนเท่ากับ 8 องศา

ชนิดของมีดไส มีทั้งหมด 8 แบบ
c44ae70d58731d33b0650ac6fc7ed73e 5
การลับมีดไสจะมีวิธีที่คล้ายๆ กับการลับมีดกลึง ต่างกันที่มีค่าของมุมที่ลับ และขนาดมีดไสโดยทั่วๆไปจะมีขนาดใหญ่กว่ามีดกลึง เพราะต้องการความแข็งแรงมากกว่า แต่ก็สามารถใช้ขนาดเท่ากันได้ มีดไสมีมุมต่างๆ ดังนี้

ใส่ความเห็น