เครื่องมือช่างพื้นฐาน

เครื่องมือช่างพื้นฐาน

เครื่องมือช่าง ตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้วเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเครื่องมือ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติงานช่าง เพราะเครื่องมือเป็นสิ่งที่ช่วยผ่อนแรงในการทำงาน และช่วยให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ผลงานที่ออกมาดี สวยงาม เป็นที่ต้องการของผู้ใช้ โดยเราต้องรู้จักการใช้เครื่องมืออย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับชนิดของงาน เพราะฉะนั้นในการใช้เครื่องมือจึงถือเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่สำคัญในการทำงาน โดยเครื่องมือช่างพื้นฐานโดยทั่วไปมีมากมายหลายชนิด ไม่สามารถกล่าวได้หมด แต่จะกล่าวเฉพาะเครื่องมือที่จำเป็น และใช้เป็นประจำดังนี้

1.ตะไบเหล็ก (Metalworking Files)

Steel filings 1

เครื่องมือที่ใช้สำหรับการขัดแต่งผิว ทำด้วยโลหะแข็งพิเศษ โดยมากแล้วทำจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง มีรูปร่างหลายแบบ เช่น ตะไบกลม ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบครึ่งวงกลม ตะไบสี่เหลี่ยม และตะไบแบน อีกทั้งตะไบเป็นเครื่องมือเครื่องตัดหรือเฉือนชนิดหนึ่ง มีฟันขนาดเล็กๆจำนวนมาก ฟันจะทำจากโลหะที่แข็งมาก จึงสามารถตัดหรือเฉือนวัสดุที่อ่อนกว่าได้ เศษโลหะหรือไม้ที่ได้จะมีขนาดเล็กมากหรือน้อยขึ้นกับฟันของตะไบ นำไปใช้งานตกแต่งผิวโลหะให้เรียบ ลบส่วนที่คมหรือทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามต้องการ ความยาวของตะไบจะมีขนาดประมาณ 3-18นิ้ว หลังการใช้งาน ควรใช้แปรงลวดทำความสะอาดร่องฟันเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่อุดตัน ไม่ควรใช้วิธีการเคาะ และควรเก็บใส่กล่อง ห่อด้วยกระดาษน้ำมันป้องกันสนิม หรือเก็บในที่สำหรับแขวนตะไบโดยเฉพาะ ไม่ให้มีการกระทบกันอาจทำให้ฟันตะไบเสียหายได้

 

2.สกัดโลหะ (Cold Chisel)

cold-chisel

สกัดโลหะเป็นเครื่องมือซ่อมแซมที่ใช้งานร่วมกับค้อน เป็นเครื่องมือเก่าแก่ที่มีใช้ในงานเหล็ก งานซ่อม งานตีเหล็กด้วยมือ หรืองานที่เครื่องมือไฟฟ้าในปัจจุบันเข้าถึงยาก โดยจะใช้สกัดในงานตัดเศษโลหะส่วนเกินบนผิวโลหะ ตัดน็อตหรือสกัดเกลียวที่ถอดไม่ออก ตัดรอยเชื่อมส่วนเกิน ตัดแผ่นโลหะ และเซาะร่อง สกัดทำมาจากเหล็กเนื้อดี ผ่านการตีขึ้นรูป มีความแข็งและเหนียวมากกว่าเหล็กทั่วไป มีขนาดยาว 4-12 นิ้ว ลำตัวจะทำเป็นรูปหกเหลี่ยม ส่วนหัวจะเป็นรูปทรงกลมแบน ส่วนด้านปลายซึ่งจะใช้เป็นคมสำหรับตัดโลหะจะมีหลายแบบ เช่น ปลายแบน ปลายแหลม ปลายมน และปลายตัด ปลายตัด และ ขนาดแต่ละแบบต่างก็มีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันไป หลังการใช้งาน ควรเก็บในภาชนะซึ่งสะอาดและแห้งป้องกันสนิม

 

3.สิ่วไม้ (Wood Chisel)

Wood Chisel 2

สิ่วไม้ทำด้วยโลหะแข็งพิเศษ โดยมากทำด้วยเหล็กคาร์บอนสูง ตีขึ้นรูปเพื่อให้แข็งแรง มีรูปร่างหลายแบบมากมายหลายขนาด อาทิเช่น สิ่วปากบาง สิ่วปากหนา เป็นเครื่องมือในงานไม้ที่ใช้งานร่วมกับค้อนตอก หรือ ใช้ขุดเซาะร่องด้วยมือ และ เป็นเครื่องมือเก่าแก่อเนกประสงค์ ทีใช้ ตกแต่ง เก็บงานไม้ในการเข้าเดือย ติดบานพับ สายยู ลิ้นชักตู้ หรือโต๊ะ พบเห็นการใช้งานมากในการติดตั้งประตู ติดตั้งลูกบิด เนื่องจากต้องมีการตบแต่งขนาดของรูที่วงกบไม้ ให้เข้าขนาด และ พอดีในการติดตั้ง การเก็บรักษา หลังใช้เสร็จทำความสะอาดโดยเช็ดด้วยน้ำมันเพื่อป้องกันสนิม และเก็บในที่ปลอดภัย อากาศไม่อับชื้น

 

4.เลื่อยไม้ (Woodworking Hand Saw)

HS 3

เลื่อยไม้หรืออีกชื่อ เลื่อยลันดา ใช้เลื่อยสำหรับงานไม้โดยทั่วไป ทำด้วยโลหะแข็งแผ่นบาง มีฟันเป็นซี่ๆ โดยฟันของซี่เลื่อยมีความแตกต่างกัน ประมาน 5-12 ฟันต่อนิ้ว ขนาดฟันเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับการใช้งานในการตัดไม้ หนาบางแตกต่างกันไป ใช้ตัดไม้เพื่อการตัดให้ขาดออกจากันเพื่อการเข้ามุม การต่อไม้ เป็นต้น การเก็บรักษา หลังใช้เสร็จควรทำความสะอาดใบเลื่อยทุกครั้งและใช้ตะไบสามเหลี่ยมตกแต่งฟันเลื่อยให้คมเสมอ ทาด้วยน้ำมันเครื่องและเก็บให้มิดชิด โดยการแขวน

 

5.เลื่อยโลหะ หรือเลื่อยตัดเหล็ก (Hacksaw)

เลื่อยด้ามเหลือง 4

 

เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือเก่าแก่ที่ใช้ ตัดหรือเฉือนโลหะอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย เลื่อยตัดเหล็กเหมาะสำหรับใช้งานตัดท่อ ตัดตะปูส่วนเกิน ตัดน็อตส่วนเกิน แท่งเหล็กกลมที่มีขนาดเล็ก หรือท่อพีวีซีในงานประปา ขนาดฟันเลื่อยโดยมากจะมีขนาดที่ขายในท้องตลาด คือ 18 และ 24 ฟันต่อนี้ว เลื่อยขนาดให้เหมาะสมกับความหนาของแผ่นโลหะ โดยอย่างน้อยควรมีฟัน 2-3 ฟันใบเลื่อยบนความหนาของแผ่นเหล็ก เลื่อยโลหะ ใช้คู่กับโครงเลื่อยมือ หรือ โครงเลื่อยจิ๋ว จับยึดใบเลื่อย โครงเลื่อยมือเมื่อใส่ใบเลื่อยแล้ว จะมีหางปลาขันให้ใบเลื่อยตึงและตรง ทำให้การตัดทำได้สะดวก ใบเลื่อยทำจากวัสดุชนิดพิเศษโดยมากทำจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง และมีการผสมอัลลอยเพื่อเพิ่มความทนทานให้ตัดได้เร็ว และ ทนทาน หลังการใช้งาน ควรถอดใบเลื่อยออกจากโครงเลื่อยแล้วเก็บไว้พร้อมชโลมน้ำมันถ้าจำเป็น ส่วนโครงเลื่อยให้แขวนในที่จัดเตรียมไว้

 

6.ไขควง (Screw Driver)

Screwdriver

ไขควงคือเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาให้ขันและ คลายสกูร ด้ามจับทำจากพลาสติก ไม้ หรืออาจเป็นโลหะตามการใช้งาน ปลายไขควงทำด้วยโลหะ มีรูปร่างแตกต่างกันไปตามรูปแบบสกูร แกนทำด้วยโลหะ ไขควงทำหน้าที่ส่งแรงบิดไปยังการหมุนที่ปลาย ทำให้สกูรหมุนตามเกลียว โดยหมุนเข้า หรือ ออกจากวัสดุอื่นตามต้องการ  ขนาดและรูปทรงของไขควงออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะงาน อาทิเช่น ไขควงนาฬิกา ไขควงอัญมณี ไขควงทั่วไปเป็นต้น รูปทรงของหัวไขควงมีหลายหลายแบบมากมาย แต่ที่นิยมใช้มีดังนี้

  • ไขควงปากแบน หรือไขควงธรรมดา (Common Screwdriver) ปากไขควงจะมีลักษณะแบนลาดเอียงไปยังปลายสุดของไขควง ใช้สำหรับขันหรือคายสกรูหรือตะปูควงชนิดต่าง ๆ
  • ไขควงปากแฉก (Cross Head Screwdriver, Phillips) ไขควงชนิดนี้ส่วนที่ปลายของไขควงปากแฉก หรือลักษณะปากจีบจะผ่าหัวเป็นสี่แฉก หรือเรียกหัวลูกศร เวลาบิดจะต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากกว่าไขควงธรรมดาเพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดจากร่อง

ข้อห้ามการใช้: อย่าใช้ไขควงแทนสิ่วหรือสกัด อย่าใช้ไขควงงัดอาจจะทำให้งอได้ง่าย อย่าใช้ด้ามไขควงแทนค้อน เมื่อชำรุดหยุดใช้ รีบซ่อมทันที หลังการใช้งาน ต้องทำความสะอาดแล้วเก็บในที่แห้ง

 

7.ประแจ (Wrench)

Wrench

ประแจ คือเครื่องมือสำหรับ ขันเกลียวน็อต สกูร เพื่อาการจับ ยึดอุปกรณ์ต่างๆ มีลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนหัวมีรูปทรงออกแบบแตกต่างกันไป ผลิตจากเหล็กกล้าตีขึ้นรูปเสริมความแข็งแรงด้วยอัลลอย์ มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กทั่วไป ประแจมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

  • ประแจแหวน (BOX WRENCH) เป็นประแจชนิดที่ใช้กับแรงกด-ขันมาก มีลักษณะเด่นอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน เป็นแหวนวงกลม ภายในวงแหวนจะมีเขี้ยวประมาณ 6-12 เขี้ยว เพื่อใช้ในการจับเหลี่ยมแป้นเกลียวได้อย่างมั่นคง
  • ประแจปากตาย (OPEN END WRENCH) ปลายทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) ซึ่งมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ประแจชนิดนี้เหมาะกับงานในที่แคบ ในการใช้งานจะต้องระวังอย่าขันแน่นมากเกินไป เพราะจะทำให้สลักเกลียวเสียหายได้ ประแจปากตายเป็นประแจที่ไม่ต้องการใช้แรงขันหรือคลายมากนักเพราะมีด้านที่รับแรงจริง ๆ เพียง 2 ด้าน
  • ประแจแหวนข้าง (COMBINATION WRENCH) ประแจชนิดนี้ได้รวมเอาประแจแหวนกับประแจปากตายเข้าไว้ด้วยกัน โดยที่ด้านหนึ่งมีลักษณะเหมือนกับประแจแหวน ส่วนอีกด้านจะเหมือนกับประแจปากตาย ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ขนาดของหัวประแจจะมีขนาดที่เท่ากันทั้งสองด้าน ทั้งนี้เพื่อเลือกใช้ในการขันตามสภาพ และ ลักษณะงานที่ต้องการ
  • ประแจบล็อก (SOKET WRENCH) เป็นเครื่องมือช่างที่สำคัญอันดับต้นๆ ของช่างยนต์ ซึ่งประแจบล็อกมีไว้ใช้สำหรับจับ ยึด ขัน หรือคลายหัวสกรู น็อต สลักเกลียว โดยท่อประแจบล็อกจะมีรูปร่าง ขนาด และความยาวที่แตกต่างกัน จุดเด่นของประแจบล็อก คือสามารถใช้สำหรับวัดแรงกดขันน็อตได้ สะดวกเหมาะใช้ในงานช่างยนต์ โดยมากจะขายเป็นประแจบล็อกชุด สะดวกใช้งานหลากหลายและการจับเก็บ
  • ประแจแอลหรือประแจหกเหลี่ยม (ALLEN Key OR HEX WRENCH) เป็นประแจที่ใช้สำหรับในการขันสลักเกลียวที่เป็นหัวกลม ส่วนกลางเป็นรูหกเหลี่ยม ซึ่งใช้สำหรับงานที่มีความพิเศษ เช่น สลักเกลียวปรับชิ้นงาน ประแจแอลหรือประแจหกเหลี่ยมจะผลิตจากเหล็กกล้าตีขึ้นรูปหกเหลี่ยมและชุบแข็ง ทำเป็นรูปตัว L ขนาดปลายทั้งสองด้านเท่ากัน
  • ประแจปอนด์ หรือประแจทอร์ค (TORQUE WRENCH) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตั้งค่าแรงบิด ค่าทอร์ค การไขน็อต หรืออุปกรณ์ยึดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไขแน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป ประแจปอนด์หรือประแจทอร์คมีหน่วยวัดเป็น นิวตันเมตร (N.M.), ปอนฟุต (LB.FTS), ปอนด์นิ้ว (LBF.IN), กิโลกรัมเมตร (KGF.M) เป็นต้น
  • ประแจเลื่อน (ADJUSTABLE WRENCH) เป็นประแจที่สามารถปรับความกว้างของปากประแจได้ ใช้สำหรับขันสลักเกลียว น็อต หรือ ยึด อุปกรณ์ต่างๆ มีลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนหัวมีรูปทรงพอดีกับอุปกรณ์ มีตัวหนอนปรับความกว้างของปากประแจให้พอดี สะดวกพกพา
  • ประแจคอม้า (STRAIGHT PIPE WRENCH) เป็นประแจที่สามารถปรับขนาดได้ค่อนข้างกว้าง นิยมใช้สำหรับขันท่อประปาโลหะ หรือข้อต่อที่มีผิวกลม ข้อควรระวัง คือ อุปกรณ์ชนิดนี้มีฟันที่ค่อนข้างแหลม จึงไม่เหมาะสำหรับใช้กับชิ้นงานที่ต้องการความสวยงาม เพราะฟันของประแจจะกินเข้าไปในผิวชิ้นงานในขณะใช้งานอาจทิ้งรอยไว้ได้
  • ประแจอเนกประสงค์ (MULTI PUTPOSE WRENCH) เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาใหม่ ให้ใช้สำหรับขันเกลียวท่อเหล็กหรือยึดน็อต ประแจอเนกประสงค์ออกแบบหัวจับน็อตที่ปรับขนาดอัตโนมัติ สามารถขันน็อตได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นน็อตทรงกลม ทรงหกเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือท่อแป๊บ ประแจอเนกประสงค์ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนมีความแข็งแรง ฟันไม่บิ่น หรือแตกหักง่าย สามารถใช้งานกับน็อตได้ตั้งแต่ 9-32 มม.

8.คีม (Plier)

Plier

คีมเป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดสำหรับ ตัด จับ ยึด ดัด ปอก ถ่าง ย้ำ มัด และถอดสิ่งต่างๆ เป็นเครื่องมือที่ต้องมีประจำบ้าน เลยทีเดียว ใช้กับ งานที่เกี่ยวกับ โลหะแผ่นบาง สายไฟ ท่อขนาดเล็ก และอื่นๆอีกมากมาย ใช้มากในงานโลหะแผ่น งานซ่อมวิทยุหรืออิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ คีมมีมากมายหลากหลายชนิด แล้วแต่การออกแบบ แต่ที่สำคัญมีดังนี้

  • คีมย้ำ Crimping Pliers ลักษณะการใช้งาน เครื่องมือย้ำวัสดุ
    คีมย้ำนี้ จะมีหลายรูปแบบ แต่วัตถุประสงค์หลัก ก็คือการย้ำสายไฟ หรือสายลวด สายสัญญาณ เพื่อใช้บีบวัสดุหุ้ม (พลาสติกหรือโลหะ) ให้เปลี่ยนรูปตามรูปทรงต่างๆ ของการออกแบบของคีม โดยวัสดุที่นำมาหุ้มสายสัญญาณ หรือสายไฟต่างๆนั้นจะเกาะติดตัวสายไปด้วย ซึ่งคีมชนิดนี้นิยมใช้กันมากใน วงการไฟฟ้า การสื่อสาร และคมนาคม
  • คีมตัดสาย Diagonal Pliers ลักษณะการใช้งาน ใช้เพื่อตัดวัสดุ ที่รูปทรงต่างๆ
    คีมตัด คือ คีมที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกรรไกร ออกแบมาเพื่อตัดลวดหนาๆ ตะปู หรือตัดทรงโค้ง โดยใช้แรงบีบจากด้ามจับ กดเพื่อให้วัตถุขาดจากกันโดยใช้คมของปากคีม นิยมอย่างแพร่หลายทั้งงานช่างไม้และงานช่างไฟฟ้า
  • คีมปากแหลม Needle Nose Pliers ลักษณะการใช้งาน ปากคีมยาวเพื่อยึดจับ สร้างความแม่นยำ หรือ ในซอกที่เข้าไม่ถึง
    คีมปากแหลม มีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ คือปากจะยาวแหลมๆ ทั้งนี้ปากที่ยาวนั้น ถูกออกแบบมาเพื่อความแม่นยำมากขึ้นคีมปากแหลมนี้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ส่วนมากใช้ในงานดัด ตัด วัสดุต่างๆ ให้เป็นไปตามต้องการ ทั้งนี้คีมปากแหลม ยังมีรูปแบบการออกแบบมาให้ใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงในงานนั้นๆ อาทิเช่น งานตกปลา งานไฟฟ้า งาน สร้างเครื่องประดับ งานจักรยาน งานประดิษฐ์ งานในห้องแลป เป็นต้น ซึ่งจัดได้ว่าคีมปากแหลมเป็นหนึ่งในคีมที่นิยมอย่างมาก ซึ่งช่างแทบทุกคนจะมีติดตัวอย่างน้อยคนละ 1 ชิ้นอย่างแน่นอน
  • คีมปากผสม หรือ คีมปากจิ้งจก Combination Pliers ลักษณะการใช้งาน ตัด จับ ล็อค เอนกประสงค์
    ถือว่าเป็นคีม หรือเครื่องมือเอนกประสงค์ เลยทีเดียวแบบ all in one เพราะด้วยลักษณะคีม จะมีปากที่จับได้ ตัดได้ และบีบได้ในตัวเดียวกัน นั่นเองซึ่งถือว่าสะดวกมาก นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในงานบ้าน และอุตสาหกรรม
  • คีมปากตรง Linesman Pliers ลักษณะการใช้งาน ใช้สำหรับ ดัด ตัด หนีบ
    คีมปากครง นิยมอย่างแพร่หลายในงาน ไฟฟ้า ทั้งนี้เพราะตัวคีมมีความเอนกประสงค์ มีฟังชั่นหลายๆอย่างในตัวเดียว ซึ่งบางทีเราอาจเรียกว่าคีมช่างไฟก็ได้ ลักษณะเด่นของคีมคือ มีกรามที่ใหญ่สามารถ ตัดและจับโลหะให้โค้งได้ง่าย คีมชนิดนี้บางยี่ห้อก็สามารถย้ำสายในตัวได้อีกด้วย
  • คีมปากแบน Flat Nose Pliers ลักษณะการใช้งาน บิดโลหะและสายไฟ
    คีมปากแบนสามารถ จับและ บิดลวดหรือโลหะ ได้อย่างมั่นคง เป็นเครื่องมือที่ใช่้ในงานไฟฟ้าทั่วไป ซึ่งคีมปากแบน นั้นก็จะมี ทั้งลักษณะยาวและสั้น อีกด้วย
  • คีมถ่าง – คีมหุบ Circlip Pliers ลักษณะการใช้งาน ถ่างแหวน หนีบแหวน และล็อคแหวน ตัว C
    คีมชนิดนี้ มีลักษณะทางกายภาพเป็นลักษณะ ปากคีมสั้นและกลม หรือบางครั้งอาจมีลักษณะงอ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการจับรูแหวน และควบคุมแหวนในลักษณะของการ ถ่าง และ หุบ ได้ง่าย เมื่อใส่แหวนลงไปแล้ว แหวนสามารถหมุนล็อคได้อย่างอิสระ แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือข้างหลังได้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือเครื่องจักรกล เป็นต้น
  • คีมปากขยาย Slip Joint Pliers ลักษณะการใช้งาน งานท่อประปา
    คีมปากขยาย ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับรัศมีในการจับ ใกล้เคียงกับกระแจเลื่อน แต่ตัวคีมเองสามารถกดบีบ ได้โดยตัวคีมนี้สามารถปรับช่วงความกว้างของคีมตรงบริเวณหมุดยึด ให้สามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางหนึ่งๆซึ่งจะทำให้ปากของคีมขยายไปด้วยสามารถจับวัตถุใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงได้นั่นเอง นิยมใช้ในงานท่อประปาซึ่งตัวคีมนี้จะทำหน้าที่คล้ายประแจหลายๆตัวเลยทีเดียว
  • คีมย้ำรีเวท Riveter Plier ลักษณะการใช้งาน ใช้สำหรับกดและย้ำลูกรีเวท
    คีมย้ำรีเวท เป็นคีมที่มีลักษณะ ของการตอก โดยการสร้างแรงดันภายใน บีบอัดกับตัวหมุดรีเวท ทำให้ตัวหมุด ขยายตัวขึ้น แล้วบีบให้คับ จะทำให้ลูกรีเวท แน่นและยึดติดกับวัสดุเข้าหากันได้ ส่วนมากนิยม ในอุตสากรรม ยานยนต์ เครื่องบิน และ จักกลหนัก
  • คีมปอกสาย Wire Strippers ลักษณะการใช้งาน ใช้เพื่อปลอกสายพล่าสติกที่หุ้มสายไฟ
    คีมชนิดนี้เป็นคีม ที่นิยมใน ช่างไฟมาก เพราะตัวคีมเอง มีหน้าที่ปลอกสายไฟหรือสายทองแดงที่มีพลาสติกเป็นฉนวนหุ้ม เพื่อนำตัวลวดมาต่อเชื่อมการใช้งานในลักษณะนั่นเอง หลักการทำงานของตัวคีมจะทำการตัด แต่จะตัดไม่ขาดถึงสายไฟ จะทำการตัดแค่ ตัวฉนวนที่หุ้มสายไฟเท่านั้นทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า คีมถูกออกแบบมาให้ตัดสายไฟในลักษณะใดด้วยซึ่งปัจจุบันตัว คีมปอกสายไฟ มีหลายลักษณะ มากมายตามผู้ผลิตออกแบบมา ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการเลือกการใช้งานด้วยนั่นเอง
  • คีมตัดเหล็ก หรือ กรรไกรตัดเหล็ก Bolt Cutters ลักษณะการใช้งาน ตัดสายสลิง หรือเหล็กเส้น
    คีมตัดเหล็ก นี้มีลักษณะ เหมือนกรรไกร ด้ามยาว ซึ่งด้วยด้ามที่ยาวนี้ สามารถส่งแรงกดได้สูงขึ้น ผู้ใช้อาจต้องใช้สองมือ กดเพื่อดันตัวปากคีมให้ตัดวัสดุที่ต้องการให้ขาดอีกด้วย สามารถตัดเหล็ก โซ่ หรือแม้กระทั่งกุญแจได้อีกด้วย นิยมใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป
  • คีมล็อค Locking Pliers ลักษณะการใช้งาน จับยึด ล็อค วัตถุ
    คีมชนิดนี้ได้รับการออกแบบมาอย่างดี มันสามารถล็อควัตถุ ได้โดยการปรับที่ปลายของด้ามจับและมีกลไกล จับยึด โดยมากคีมชนิดนี้จะทำด้วยเหล็ก จึงทำให้มีน้ำหนักและจับได้อย่างมั่นคง นิยมใช้ในทุกวงการนับว่าเป็นคีมยอดนิยมอีกชิ้นหนึ่งที่แทบทุกคนจะมีติดไว้

การบำรุงรักษา หลังจากเลิกใช้งานประจำวันควรเช็ดทำความสะอาด ป้องกันสนิม แล้วเก็บไว้ในที่สะอาด กล่องเก็บเครื่องมือ

 

9.ค้อน (Hammer)

Hammer 2 5

 

ค้อนหงอน เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่ทุกคนรู้จักกันดี ค้อนใช้ทำงานได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการตอกตะปู ดึงตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป
โดยเฉพาะในงานไม้ หรืองาน DIY ต่างๆ ค้อนเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว ด้ามจับทำจากไม้ หรือ พลาสติกแข็งแรง และ บริเวณส่วนหัวค้อน ทำจากโลหะประเภทเหล็กแข็งตีขึ้นรูป โดยหน้าค้อนจะเรียบ หรือโค้งมนเล็กน้อย ใช้สำหรับตอกตะปู ส่วนหางจะมีลักษณะเป็นรูปตัววี ใช้สำหรับดึงหรือถอนตะปู  ค้อนที่เหมาะแก่การใช้งานควรมีน้ำหนักประมาณ 0.7 กิโลกรัม หลังการใช้งาน ควรทำความสะอาดด้ามค้อนและหัวค้อนให้สะอาด ควรมีที่เก็บค้อนโดยเฉพาะ อาจจะใส่กล่อง ตู้ หรือแผงเครื่องมือ ยังคงมีค้อนประเภทอื่นๆอีกหลายหลายมากมายหลายแบบ อาทิเช่น ค้อนหัวกลม ค้อนไม้ ค้อนเดินสายไฟ ค้อนยาง เป็นต้น

 

10.ตลับเมตร (Tape Measure)

Tape-meature

ตลับ เมตร คือเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่มีสายวัดเก็บอยู่ในตลับอย่างดี และ มิดชิด ทำให้สะดวกในการนำติดตัวไปใช้งานพกพาได้ตลอดเวลา ตลับเมตรใช้ในการวัดหาระยะหรือ ตรวจสอบขนาดของวัสดุ ชิ้นงาน ฯลฯ เนื่องจากตรงหัวสายวัดของตลับเมตรมีขอเกี่ยว หรืออาจมีแม่เหล็กดูดเหล็ก ซึ่งใช้เป็นที่เกาะยึดกับขอบของชิ้นงานที่ต้องการวัด ทำให้การดึงสายวัดออกจากตลับเพื่อใช้ในการวัดระยะหรือตรวจสอบขนาดของวัสดุ หรือชิ้นงานได้สะดวก ตลับ เมตรทำด้วยโลหะปั๊มมีลักษณะรูปร่างเป็นตลับ เพื่อม้วนเก็บสายวัดชนิดบางที่เป็นโลหะมีสปริงไว้ภายในตลับอย่างมิดชิด ตรงส่วนปลายสุดของสายวัดนี้เป็นขอเกี่ยว และที่ด้านหน้าของสายวัดมีหน่วยการวัดเป็นนิ้ว ฟุต หรือหน่วยเมตริกกำกับไว้ หรือสายวัดบางชนิดของตลับเมตรมีหน่วยนิ้ว ฟุต กำกับไว้ข้างหนึ่ง และมีหน่วยเมตริกกำกับไว้อีกข้างหนึ่งเพื่อสะดวกในการใช้ ตลับเมตรที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป มีขนาดตลับบรรจุสายวัดได้ความยาวตั้งแต่ 1.00 – 5.00 เมตร ช่างไม้และช่างก่อสร้างนิยมใช้มากที่สุดได้แก่ขนาดตลับที่บรรจุสาย วัดได้ความยาว 2.00 เมตร

เครื่องมือช่าง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือช่างมากมาย ออกมาในรูปต่างมากมายอย่างไม่หยุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ช่างได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง งานเสร็จไว และ ดูดีมืออาชีพ เป็นที่พอใจกับลูกค้า เรามุ่งมั่นสรรหาเครื่องมือช่างมืออาชีพ มาบริการด้วยหัวใจ ติดตามกันกับเครื่องมือช่างออกใหม่ และ การใช้งานที่หลากหลายได้หลายหลายช่องทาง Facebook ThaiTool, Line @ThaiTool , Youtube ThaiTool นะครับ

 

 

ใส่ความเห็น