THE SUN ลวดเชื่อมผิวทองแดง หรือลวดเติมใช้ในการเชื่อมเหล็กบาง โดยใช้กระบวนการเชื่อมแก๊ส อ๊อกซิเจน/แอลพีจี หรือ อ๊อกซิเจน/อะเซทิลีน สะดวก เชื่อมง่าย เชื่อมดี ไม่มีตามด
ลวดเชื่อมผิวทองแดง ทำจากวัตุดิบที่ได้มาตรฐาน เคลือบทองแดงที่ผิวความหนาสม่ำเสมอ ทนทานการกัดกร่อนของสนิมได้ดี ให้ค่าความแข็งแรงสูงเทียบเท่าเหล็กแผ่นบาง มั่นใจคุณภาพ
จุดเด่น
- สำหรับงานเชื่อมด้วยแก๊สที่ใช้ในงานเชี่อมเหล็กทั่วๆไป
- สามารถเชื่อม แนวแข็งแรง ไม่มีตามด
- แนวเชื่อมสวยงาม มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกร้าว
รายละเอียด
- สามารถเชื่อมประสานได้เป็นอย่างดี
- สำหรับงานเชื่อมแก๊ส เชื่อมได้เป็นแนวสวยงาม
- ด้านในทำจากลวดเหล็กเหนียว เคลือบทองแดง ป้องกันสนิม
ข้อแนะนำ
- ควรเก็บรักษาไว้ในที่แห้ง หลีกเหลี่ยงความชื้น ที่เป็นสาเหตุของการเกิดคราบสนิม
- ขณะทำการเชื่อมจะเกิดสะเก็ดเปลวไฟ ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากกันแสงเชื่อม ถุงมือ ชุดป้องกันที่ปราศจากคราบน้ำมัน และรองเท้านิรภัยเพื่อปกป้องอันตราย ที่อาจจะเกิดกับร่างกาย
- ตรวจเช็คอุปกรณ์ในการเชื่อมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หากพบอุปกรณ์เชื่อมใดๆ ชำรุดให้รีบแก้ไขทันที เพื่อป้องกันการเกิดอันตราย
คุณสมบัติ
ขนาด | ขนาดบรรจุ | กว้าง x ยาว x สูง |
2.0 มม. | 10 กก. | 5 x 100 x 5 ซม. |
2.6 มม. | 10 กก. | 5 x 100 x 5 ซม. |
3.2 มม. | 10 กก. | 5 x 100 x 5 ซม. |
สินค้าภายในกล่อง
1 x ลวดเชื่อมผิวทองแดง ขนาด 2.0 มม. (บรรจุ 10 กก./กล่อง) |
1 x ลวดเชื่อมผิวทองแดง ขนาด 2.6 มม. (บรรจุ 10 กก./กล่อง) |
1 x ลวดเชื่อมผิวทองแดง ขนาด 3.2 มม. (บรรจุ 10 กก./กล่อง) |
สะดวกช็อปหลากหลายช่องทาง คลิกเลยที่นี่ !!!
การเชื่อมโดยใช้แก๊ส
การเชื่อมโดยใช้แก๊ส เป็นขบวนการเชื่อมที่ใช้การเผาไหม้ของแก๊สอเชติลีนผสมกับแก๊สออกชิเจน (Oxygen-acetylene Welding) เปลวไฟจากการเผาไหม้ที่ปลายหัวเชื่อม แล้วทำให้โลหะหลอมละลายแล้วเติมลวดเชื่อมลงไปในบ่อน้ำโลหะที่กำลังหลอมละลายเมื่อปล่อยให้เย็นตัวลงก็จะได้แนวเชื่อมตามต้องการ การเชื่อมแก๊สนิยมใช้กับงานเชื่อมเบาๆที่ใช้เชื่อมโลหะบางๆเช่นงานเชื่อมเพื่อซ่อมตัวถังรถยนต์งานเชื่อมท่อแอร์ ท่อไอเสียรถยนต์หรืองานเชื่อมท่อในอุตสาหกรรมเคมีต่างๆเป็นต้น
การเชื่อมโดยใช้แก๊ส (Oxygen-fuel Gas Welding) หมายถึง การเชื่อมชิ้นงานโดยใช้พลังงานความร้อนจากการสันดาปของแก๊ส เชื้อเพลิง (Fuel Gas) เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) อะเซทิลีน (C2H2) หรือ ไฮโดรเจน (H2) กับ ออกซิเจน (O2) ที่หัวเชื่อมแก๊ส (Torch)
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมแก๊ส (Gas Welding Equipment) ประกอบไปด้วย
1. หัวเชื่อมแก๊ส (Torch)
2. สายแก๊สเชื่อเพลิงและสายออกซิเจน (Hoses)
3. ถังแก๊สเชื้อเพลิง (Fuel Gas Cylinder)
4. ถังออกซิเจน (Oxygen Cylinder)
5. อุปกรณ์ปรับความดัน (Regulators)
อันตรายที่เกิดจากการเชื่อมโดยใช้แก๊ส
หัวเชื่อมแก๊ส (Torch) ถึงแม้จะได้รับการออกแบบให้ทรงประสทธิภาพดีเพียงไรก็ตาม แต่ก็ยังมีความเป็นอันตรายในตัวของมันเอง กล่าวคือ อาจเกิดปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ (Flashback) ที่หัวเชื่อมแก๊ส การเกิดไฟลุกไหม้หรือระเบิดที่อุปกรณ์ขณะทำการเชื่อมแก๊ส เช่น การระเบิดที่ Torch หรือการระเบิดของสายแก๊สหรือสายออกซิเจน (Hoses) ที่ต่อระหว่าง Torch กับ Regulator หรือการระเบิด ที่ Regulators และที่รุนแรงที่สุดคือ การระเบิดที่ถังออกซิเจนหรือถังแก๊สเชื้อเพลิง ล้วนแต่มีสาเหตุมาจาก การเกิดปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ (Flashback) ทั้งสิ้น
การเกิดปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ (Flashback) คืออะไร
Flashback เป็นปรากฎการณ์ที่ไฟ (Flame) ย้อนกลับจาก Torch เข้าในสายแก๊สผ่าน Regulator ไปยังถังแก๊สเชื้อเพลิง (Fuel Gas Cylinder) ขณะเดียวกันออกซิเจนจะไหลตามเข้าไปโดยแรง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการลุกไหม้ เพื่อให้เกิดการลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง (Sustain Combustion) หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ Flame ย้อนกลับจาก Torch เข้าไปในสายออกซิเจนผ่าน Regulator ไปยังถังออกซิเจน ขณะเดียวกัน Fuel Gas จะไหลตามเข้าไปด้วยแรงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการลุกไหม้เพื่อให้เกิด Sustain Combustion ความเร็วของไฟ (Flame Velocity) ขณะเกิด Flashback จะเร็วมาก Flame Velocity อาจ สูงถึง 2 เท่าของความเร็วของเสียงประมาณ 2,000 ฟุต/วินาที หรือ 1,400 ไมล์/ชั่วโมง
สาเหตุที่ทำให้เกิด Flashback เกิดได้หลายประการ ดังนี้
- การประกอบหัวเชื่อมแก๊ส (Torch) ไม่ถูกต้อง
- การระบายแก๊ส (Purge) ที่ค้างอยู่ในสายแก๊สและ Torch ก่อนการเชื่อมไม่ถูกต้อง
- ความดันใช้งานไม่ถูกต้อง
- เลือกใช้หัว Tip ของ Torch ไม่ถูกต้อง
- ทางเดินของแก๊สใน Torch อุดตัน
- สายแก๊สชำรุดหรือรั่วไหลและมีประกายไฟทำให้เกิดการลุกไหม้
- ใช้ระยะห่างของหัว Tip กับชิ้นงานที่เชื่อมไม่ถูกต้อง
- เกิดการรั้วของแก๊สที่ Regulator, Hose หรือ Connection เป็นผลทำให้ความดันลดลง แก๊สที่ความดันสูงจึงไหลย้อนกลับไปยังอีกด้านหนึ่ง เป็นต้น
มาตรการป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback Protection Measures)
สามารถป้องกันไฟย้อนกลับได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ(Flashback Arrestors)โดยต้องติดตั้งที่ Gas Welding Equipment 4 จุด ดังนี้คือ
1. ทางออกของ Oxygen Regulator
2. ทางออกของ Fuel Gas Regulator
3. ด้าม Torch ทางด้านที่ต่อกับสายออกซิเจน
4. ด้าม Torch ทางด้านที่ต่อกับสายแก๊สเชื้อเพลิง
Flashback Arrestors คือ อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับในเวลาทำการเชื่อมแก๊ส
โดยทั่วไปประกอบด้วย โครงสร้างหลักที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. Non-Return Valve เป็นลิ้นควบคุมการไหลให้ไปในทิศทางเดียว
2. Flame Arrestor เป็นตัวดูดซับหรือดับไฟที่ย้อนกลับ
3. Thermal Cut-Off Valve เป็นตัวจับความร้อน โดยลิ้นจะปิดการไหลโดยทันทีทันใด เมื่อมีความร้อนเกิดขึ้น
เป็นคนแรกที่รีวิวสินค้านี้กันนะ “ลวดเชื่อมผิวทองแดง เดอะซัน (1 กล่อง 10 กก.) สำหรับการเชื่อมเหล็ก ด้วยแก๊ส แอลพีจี หรือ อะเซทิลีน”
You must be logged in to post a review.