ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ เดอะซัน รุ่น E71T-1 Flux core Arc welding electrodes ผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานสากล เหมาะสำหรับงานเชื่อมเหล็กหนา ในที่โล่ง ใช่ร่วมกับแก๊ส ซีโอทู ให้อาร์คมีความนิ่มเสถียร คุมแนวง่าย สะเก็ดไฟน้อย ควันน้อย สแลกหลุดร่อนง่าย ป้อนลวดได้ดี ไม่สะดุด ทำให้ประหยัดหัวคอนแทคทิป ให้ค่าคุณสมบัติเชิงกลดีเยี่ยม ในงานต่อเรือ งานโครงสร้างเหล็ก งานสะพาน และโครงสร้างเครื่องจักรกลทั่วไป
THE SUN ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ รุ่น E71T-1 ใช้ร่วมกับเครื่องเชื่อมมิกทั่วไป และใช้แก๊ส CO2 ปกคลุม เชื่อมได้ดี ในทุกท่าเชื่อม ใช้เชื่อมเหล็กเหนียวและเหล็กทนแรงดึงสูง 500N/mm.2 สำหรับเครื่องจักร งานโครงสร้าง เรือ สะพาน เครื่องมืออุตสาหกรรมเคมี และแทงค์บรรจุ
จุดเด่น
- ใช้ได้ดีกับเครื่องเชื่อมมิก และแก๊ส ซีโอทูในการเชื่อม ให้อาร์คคงที่ ควันน้อย
- เชื่อมนิ่ม เชื่อมไว สะเก็ดไฟน้อย สแลกร่อนง่าย
- มาตรฐานอ้างอิง AWS A5.20 E71T-1
รายละเอียด
- THE SUN ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ รุ่น E71T-1 เป็นลวดเชื่อมชนิดใช้แก๊ส Co2 ปกคลุม
- เชื่อมได้ดี ในทุกท่าเชื่อม
- ใช้เชื่อมเหล็กเหนียวและเหล็กทนแรงดึงสูง 500 N/mm.2
- สำหรับเครื่องจักร งานโครงสร้าง เรือ สะพาน เครื่องมืออุตสาหกรรมเคมี และแทงค์บรรจุ
- ผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานสากล
- ผ่านการผลิตที่ประณีตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย
- เก็บได้นานห่อหุ้มฟรอย์อลูมิเนียม
วิธีการใช้งาน
- ใช้ร่วมกับเครื่องเชื่อมิก ที่ใช้แก๊ส ซีโอทู ปกคลุม เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กหนา และเหล็กแรงดึงสูง เช่น งานโครงสร้าง ยานพาหนะ ท่อและเครื่องจักร
ตารางเปรียบเทียบ ลวดเชื่อมมิก และ ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์
ลำดับ | คุณลักษณะและการใช้งาน | ลวดเชื่อมมิก | ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ |
1 | ขนาดลวดให้เลือก | 0.8 0.9 1.0 1.2 | 1.2 มม |
2 | ใช้แกส ซีโอทู และ เครื่องเชื่อม มิก | ใช่ | ใช่ |
3 | ลวดเปลือยหุ้มด้วยทองแดงกันสนิม | ใช่ | ไม่ใช่ ไม่หุ้มทองแดง แต่มีฟลักซ์ใส้ใน |
4 | โค้ดลวดเชื่อม | ER70S-6 | E71T-1 |
5 | โรล บรรจุ 15 กก เป็นม้วน | ใช่ สีขาว | ใช่ สีดำ |
6 | หีบห่อ กันสนิม | กระดาษและฟิล์มหด | อลูมิเนียมฟอย |
7 | เชื่อมเหล็กแผ่นบาง | ใช่ | ไม่เหมาะ |
8 | เชื่อมเหล็กแผ่นหนา | ไม่เหมาะ | ใช่ |
9 | ใช้ได้กับเครื่องเชื่อมมิก ทั่วไป | ใช่ | ใช่ |
10 | เชื่อมแล้วมีสแลกหรือไม่ | ไม่มี น้อยมาก | มีสแลกต้องเคาะ |
11 | ลักษณะลวด | ลวดเปลือยเคลือบทองแดง | ลวดเปลือยสีเหล็ก |
12 | สะเก็ดไฟน้อย | มาก | น้อย |
13 | เปลวอาร์ค | รุนแรง | นิ่ม |
14 | เชื่อมได้เร็ว | ปกติ | เร็วกว่ามาก |
15 | ความแข็งแรงต้านแรงดึง | ปกติ < 500 | แข็งแรงกว่า 500 N/mm2 |
16 | การซึมลึกแนวเชื่อม | ตื้น | ลึก |
การบำรุงรักษาและข้อควรระวัง
- ป้องกันการติดไฟไม่ติดไฟเพื่อปกป้องผู้อื่น
- เลือกเลนส์ฟิลเตอร์ที่เหมาะกับการเชื่อมของคุณ
- เมื่อใช้งานเสร็จแล้วเช็ดทำความสะอาดและเก็บให้เรียบร้อย
- ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่มีการเชื่อม เช่น แว่นตาป้องกันสะเก็ด หน้ากากกรองฝุ่น ถุงมือหนัง อุปกรณ์ป้องกันเสียง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
- เก็บให้พ้นมือเด็ก เพื่อป้องกันการเกิดอันตราย
ข้อเสนอแนะ
- ควรเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในที่แห้ง และเก็บในบรรจุภัณฑ์เดิม
คุณสมบัติ
กว้าง x ยาว x สูง | น้ำหนัก |
10 x 28 x 27 ซม. | 15,800 กรัม |
สินค้าภายในกล่อง
1 x ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ ขนาด 1.2 มม. (15 กก./ม้วน) |
สะดวกช็อปหลากหลายช่องทาง คลิกเลยที่นี่ !!!
*** ข้อมูลเพิ่มเติม ***
ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ไวร์ และ แตกต่างจากการเชื่อมแบบ MIG/MAG ทั่วไปอย่างสิ้นเชิง ลวดเชื่อมชนิดฟลักซ์คอร์ จะผลิตจากลวดเหล็กชนิดแบนขนาดเล็ก แล้วผ่านกระบวนการบรรจุผงฟลักซ์ หลังจากนั้นจึงม้วนเข้าตะเข็บ เพื่อกักให้ผงฟลักซ์อยู่ภายในลวดเชื่อม ในขณะที่ทำการเชื่อม ลวดเชื่อมจะถูกดึงออกจากม้วนลวดเชื่อมผ่านไปยังสายเชื่อมและปืนเชื่อมจนกระทั่งอาร์คกับชิ้นงานเชื่อมในที่สุด เมื่อเกิดการอาร์คขึ้น ฟลักซ์ที่อยู่ในลวดเชื่อมจะหลอมละลายและให้คุณสมบัติแก่เนื้อเชื่อมดังนี้
- ให้คุณสมบัติด้านเชิงกล เชิงโลหะวิทยา และคุณสมบัติด้านการต้านทานต่อการกัดกร่อนของแนวเชื่อม โดยการปรับส่วนผสมทางเคมี
- ให้ความสามารถในการเติมเนื้อลวดเชื่อมได้สูงกว่าการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมตั้นที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมแบบ MIG/MAG ถึง 3 เท่า
- เพิ่มความสมบูรณ์ของแนวเชื่อม โดยการปกคลุมบ่อหลอมละลายของแนว เชื่อมจากก๊าซอ๊อกซิเจนและไนโตรเจนในอากาศ
- ปฏิกิริยาของฟลักซ์กับน้ำโลหะ จะช่วยขจัดสิ่งที่เป็นมลทินออกจากบ่อหลอมละลาย
- สร้างชั้นสแลกปกคลุมแนวเชื่อมที่กำลังแข็งตัวจากอากาศ และยังช่วยควบคุมลักษณะของแนวเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อมต่างๆ
- สร้างความเสถียรของอาร์ค โดยให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ทำให้ช่วยลดการเกิด เม็ดโลหะกระเด็น (Spatter) ทำให้แนวเชื่อม เนียนเรียบ และมีขนาดแนวเชื่อมที่สม่ำเสมอ
ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ เป็นลวดเชื่อมเปลือยที่มีไส้ฟลักซ์ อยู่ในแกนกลางของลวด เป็นการเอาข้อดีของลวดเชื่อมไฟฟ้ากับลวดเชื่อมมิกมารวมกัน แนวเชื่อมที่ได้จึงสวยงาม เพราะ ฟลักซ์ที่อยู่ในแกนลวด ทำหน้าที่คลุมแนวเชื่อมไว้ (ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์บางชนิดจึงไม่ต้องใช้แก๊สซีโอทูมาปกคลุมแนวเชื่อม) เหมาะกับงานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพสูง และผ่านการเอกซ์เรย์ได้ดี ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์มีอยู่ 2 ประเภทคือ
- ลวดเชื่อมฟลัคซ์คอร์ Flux Cored Wire สำหรับงานเหล็ก เหมาะกับงานเชื่อมตามอู่ต่อเรือ ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักรทางการเกษตร ขี้สแล็คเคาะออกง่าย มีขนาด ตั้งแต่ 1.2 และ 1.6 มิลลิเมตร
- ลวดเชื่อมฟลัคซ์คอร์ Flux Cored Wire สำหรับงานสแตนเลส ใช้กันอย่างแพร่หลายในการเชื่อมการประกอบเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม ถังแรงดันอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีตั้งแต่เกรด 308L, 309L, 316L ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์สแตนเลส มีขนาด 1.2 และ 1.6 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับฟลัคซ์คอร์เหล็ก
การปรับตั้งเครื่องเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์
การปรับตั้งเครื่องเชื่อมที่เหมาะสม เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ เริ่มตั้งแต่การปรับแรงกดของล้อขับลวด จะต้องปรับเฟืองให้ลวดสามารถถูกขับออกไปได้โดยไม่มีการลื่นหรือหมุนฟรี ไม่ปรับให้กดแรงเกินไป เนื่องจากจะทำให้ลวดเชื่อมถูกกดจนเสียรูป และเกิดการตัดขัดในสายเชื่อมในที่สุด
การเชื่อมแบบ MIG/MAG และการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ จะต้องปรับตั้งแรงดันเชื่อมและกระแสเชื่อมให้สัมพันธ์กัน การปรับความเร็วลวดจะเป็นการปรับระดับของกระแสเชื่อม ส่วนการปรับค่าแรงดันเชื่อมจะมีผลต่อลักษณะแนวเชื่อม หากปรับแรงดันเชื่อมสูงมากเกินไป จะทำให้เกิดรูพรุนในแนวเชื่อมและหากแรงดันเชื่อมต่ำเกินไป จะทำให้แนวเชื่อมนูนมากเกินไป ซึ่งเป็นลักษณะของแนวเชื่อมที่ไม่ดี
เทคนิคการเชื่อมสำหรับการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์
การเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคหรือทักษะในการเชื่อมมากนัก เพียงแค่เรียนรู้วิธีการเดินแนวเชื่อมแบบเดินหน้า (Forehand Welding) และการเดินแนวเชื่อมแบบถอยหลัง (Backhand Welding ) เท่านั้น
การเดินแนวเชื่อมแบบเดินหน้า (Forehand Welding) จะให้แนวเชื่อมที่กว้างแต่มีการหลอมลึกน้อยกว่าการเชื่อมแบบเดินแนวเชื่อมถอยหลัง ซึ่งเหมาะสำหรับการเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนาน้อย
การเดินแนวเชื่อมแบบถอยหลัง(Backhand Welding ) จะให้แนวเชื่อมที่แคบแต่มีการหลอมลึกสูง ซึ่งเหมาะสำหรับการเชื่อมโลหะ ที่มีความหนามาก
การเชื่อมแบบส่ายลวด เพื่อให้แนวเชื่อมมีความกว้างมากขึ้น สามารถใช้เทคนิคการเชื่อมคล้ายกับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์ หรือการเชื่อม MIG/MAG ทั่วไป โดยสามารถกระทำได้ทั้งการส่ายแบบวงกลม ครึ่งวงกลม หรือซิกแซก แล้วแต่ความถนัดของช่างเชื่อม แต่ควรรักษาความเร็วในการเดินแนว และระยะการส่ายลวดให้สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะทำการเดินแนวเชื่อมแบบเดินหน้าหรือถอยหลัง
การเชื่อมในตำแหน่งท่าตั้ง (Vertical Position) สามารถกระทำได้โดยตั้งปลายปืนเชื่อมให้ตั้งฉากกับชิ้นงานที่จะเชื่อม แล้วเอียงปลายปืนเชื่อมลงมา45 องศาในแนวดิ่ง โดยปกติการเชื่อมในตำแหน่งท่าตั้ง จะเดินแนวเชื่อมแบบเดินขึ้น(Uphill Welding) แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือในการเชื่อมแบบท่าตั้ง และท่าเหนือศีรษะนั้น จะต้องปรับค่าของเครื่องเชื่อมให้ถูกต้องและเหมาะสม
ระยะยื่นของลวดเชื่อม ในกรณีลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์แบบ Gas Shielded และSelf –Shielded
ระยะยื่นของลวดเชื่อม หมายถึงระยะของลวดเชื่อมที่พ้นออกมาจากคอนแทคทิพ ถึงชิ้นงานเชื่อม ในกรณีของลวดเชื่อม แบบ Gas shielded ควรใช้ระยะยื่นไม่เกิน 3/4 นิ้ว (19 มม.) มิเช่นนั้นก๊าซที่จ่ายปกคลุมแนวเชื่อมอาจจะไม่สามารถปกคลุมแนวเชื่อมได้ดีพอ ส่วนลวดเชื่อมแบบ Self-Shielded ระยะยื่นควรมากกว่า 3/4 นิ้ว (19 มม.) เพื่อเปิดโอกาสให้ลวดเชื่อมได้ใช้ความร้อนขจัดความชื้นที่อาจจะตกค้างอยู่ภายในลวดให้หมดไป แต่ทั้งนี้การใช้ ระยะยื่นที่มากเกินไป ทำให้ปลายลวดเชื่อมเกิดความร้อนสูง เนื่องจากมีความต้านทานไฟฟ้าที่สูงขึ้นส่งผลให้ลวดเชื่อมสามารถละลายได้เร็วหรือเพิ่มอัตราการหลอมละลายของลวดเชื่อมแต่จะทำให้ เริ่มต้นการเชื่อมทำได้ยากขึ้นรวมทั้งจะลดการหลอมลึกของแนวเชื่อมลงดังนั้นการเลือกใช้ ระยะยื่นควรศึกษาคำแนะนำของผู้ผลิตลวดเชื่อมด้วย
เป็นคนแรกที่รีวิวสินค้านี้กันนะ “ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ เดอะซัน รุ่น E71T-1 โรลบรรจุ 15 กก. ใช้คู่กับแก๊ส ซีโอทู เชื่อมนิ่ม เชื่อมไว สะเก็ดไฟน้อย สแลกร่อนง่าย ขณะเชื่อมอาร์คคงที่”
You must be logged in to post a review.